ปริศนา 137ปี Jack The Ripper
แจ็ก เดอะ ริปเปอร์ คือไคร?
แจ็กเดอะริปเปอร์ (Jack the Ripper) เป็นสมญาของฆาตกรต่อเนื่องที่ฆ่าคนในย่าน "ไวต์ชาเปล" ถิ่นยากจนในย่านอีสต์เอนด์ ของกรุงลอนดอน ในช่วงครึ่งปีหลังของ ค.ศ. 1888 ชื่อสมญาได้มาจากข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ที่ลงข่าวจดหมายลึกลับที่เขียนถึงสำนักเป็นฆาตกร ถึงแม้จะมีการสืบสวนและมีทฤษฎีที่น่าเชื่อถือมากมาย แต่ก็ไม่สามารถบ่งบอกโฉมหน้าที่แท้จริงของฆาตกรได้เลย
ตำนานเล่าขานเกี่ยวกับฆาตกรแจ็กเดอะริปเปอร์ได้กลายเป็นขนมผสมน้ำยา ระหว่างการค้นคว้าวิจัยอย่างจริงจังทางประวัติศาสตร์ ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดและนิทานพื้นบ้าน การขาดหลักฐานยืนยันที่แน่ชัดทำให้เกิดมีคำว่า "นักริปเปอร์วิทยา" มาใช้เรียกนักประวัติศาสตร์และนักสืบสมัครเล่นที่ศึกษาคดีอันโด่งดังนี้เพื่อกล่าวหาหรือพาดพิงถึงบุคคลต่าง ๆ ว่าคือตัวริปเปอร์ หนังสือพิมพ์ซึ่งมียอดขายเพิ่มสูงมากในช่วงนี้โทษว่าเป็นเพราะความล้มเหลวของตำรวจสกอตแลนด์ยาร์ดที่ไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ ทำให้ฆาตกรได้ใจและท้าทาย เหตุการณ์จึงเกิดต่อเนื่องเรื่อยมา บางครั้งตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุหลังเกิดการฆ่าเพียง 2-3 นาที แต่กลับไม่ได้ตัวคนร้าย
เหยื่อเกือบทั้งหมดเป็นโสเภณี ฆาตกรรมส่วนใหญ่เกิดในที่สาธารณะหรือกึ่งสาธารณะ เหยื่อทุกรายถูกเชือดคอ หลังจากนั้นซากศพจะถูกหั่นตรงช่วงท้องและบางครั้งที่อวัยวะเพศ คาดกันว่าเหยื่อจะถูกรัดคอให้เงียบเสียก่อนลงมือฆ่า มีหลายกรณีที่มีการตัดอวัยวะภายในออก จึงมีผู้อนุมานว่าฆาตกรอาจเป็นศัลยแพทย์หรือไม่ก็คนขายเนื้อ ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้และตัวตนของฆาตกรต่อเนื่องผู้นี้ เป็นปริศนามากว่า 137 ปี
เหยื่อของ แจ็ก เดอะ ริปเปอร์
เขาก่อเหตุฆาตกรรมหญิงโสเภณี 5 ราย ได้แก่
แมรี แอนน์ นิโคลส์ วัย 42 ปี
แอนนี แชปแมน วัย 47 ปี
เอลิซาเบธ สไตรด วัย 44 ปี
แคทเธอรีน เอ็ดโดว์สัน วัย 43 ปี
แมรี เจน เคลลี วัย 25 ปี
การสืบสวน
กรณีแจ็กเดอะริปเปอร์ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในเทคนิคการสอบสวนและนิติเวชศาสตร์มากที่สุดหลังเหตุการณ์
วิธีการด้านนิติเวชสมัยใหม่ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่รู้จักของตำรวจนครบาลในสมัยวิกตอเรีย แนวคิดเกี่ยวกับแรงกระตุ้นหรือแรงดลใจให้ลงมือกระทำการฆ่าของฆาตกรต่อเนื่องยังไม่เป็นที่เข้าใจกันแต่อย่างใด ตำรวจในสมัยนั้นเข้าใจเพียงแรงจูงใจอาชญากรรมที่มีต้นจากความต้องการทางเพศเท่านั้น
ลำดับเหตุการณ์
- 31 สิงหาคม ค.ศ. 1888 ฆาตกรรมเหยื่อรายแรก เป็นโสเภณี
- 8 กันยายน ค.ศ. 1888 ฆาตกรรมเหยื่อรายที่สอง เป็นโสเภณีเช่นกัน
- 25 กันยายน ค.ศ. 1888 จดหมายส่งถึงสำนักงานเซ็นทรัล ลงนาม “แจ๊กเดอะริปเปอร์”
- 30 กันยายน ค.ศ. 1888 ฆาตกรรมเหยื่อรายที่สามกับสี่ในเวลาไล่เลี่ยกัน
- 1 ตุลาคม ค.ศ. 1888 ไปรษณีย์บัตร “แจ็ค เดอะ ริพเปอร์” ถึงสำนักข่าวเดิม
- 16 ตุลาคม ค.ศนรก” ส่งไตครึ่งซีกไปให้จอร์ช ประธานคณะกรรมการป้องกันภัยไวต์ชาเปล
- 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1888 เหยื่อรายที่ห้าคาดว่าเป็นรายสุดท้าย
- 31 ธันวาคม ค.ศ. 1888 พบศพมองตาดู จอห์น ดรูอิทท์ หนึ่งในผู้ต้องสงสัยว่าเป็นแจ๊กเดอะริปเปอร์ จมน้ำตาย สันนิษฐานว่าเป็นการฆ่าตัวตาย
- ค.ศ. 1890 อารอน โคสมินสกี้ ผู้ส่งเข้าโรงพยาบาลโรคจิตและเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1919
- ค.ศ. 1892 ปิดคดีแจ็กเดอะริปเปอร์ โดยหาผู้กระทำความผิดไม่เจอ
ผู้ต้องสงสัยสู่ฆาตกรตัวจริง?
ผู้ต้องสงสัยที่เชื่อว่าเป็นแจ็ก เดอะ ริปเปอร์ มีหลายคน แต่จากการวิเคราะห์ และหลักฐานเท่าที่มี “แอรอน คอสมินสกี” ดูจะเป็นผู้ที่มีความเป็นไปได้สูงสุด เพราะเขาอาศัยอยู่ใกล้กับจุดเกิดเหตุในย่านไวต์ชาเปล จึงรู้จักย่านนี้เป็นอย่างดี และล่าสุดรัสเซล เอ็ดเวิร์ด นักเขียนชาวอังกฤษ ได้ซื้อผ้าคลุมไหล่ของแคทเธอรีน เอ็ดโดว์สัน เหยื่อรายหนึ่ง ซึ่งมีเลือดและน้ำอสุจิติดอยู่ เมื่อปี 2007 และหลายปีต่อมาผ้าคลุมไหล่ผืนนี้ถูกนำไปตรวจหาดีเอ็นเอ และจากการตรวจสอบอย่างละเอียดนานถึง 4 ปี ก็พบว่า มีดีเอ็นเอของคนสองคน ดีเอ็นเอแรกตรงกับทายาทของเหยื่อ และอีกตัวอย่างตรงกับทายาทของแอรอน คอสมินสกี
คอสมินสกีเกิดที่โปแลนด์ และย้ายไปอังกฤษกับครอบครัวตั้งแต่ปี 1881 และได้เริ่มทำงานเป็นช่างตัดผมในเขตไวต์ชาเปล โดยเขามีประวัติการป่วยทางจิตตั้งแต่ปี 1885 มีทั้งอาการหวาดระแวง และพฤติกรรมรุนแรง ต่อมาในปี 1890 ครอบครัวได้ส่งเขาไปรักษาอาการทางจิต เพราะมีการใช้มีดทำร้ายพี่น้องผู้หญิงของตัวเอง ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตด้วยภาวะเนื้อตายเน่าในปี 1919
แม้จะมีหลักฐานจาก DNA ที่ตรงกับทายาทในปัจจุบันของคอสมินสกี แต่เนื่องจากเป็นเรื่องตั้งแต่ 137 ปีที่แล้ว ทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า หลักฐานที่เป็นผ้าคลุมไหล่นั้น เชื่อถือได้จริงใช่หรือไม่
ฮันซี ไวส์เซนสไตเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านดีเอ็นเอไมโตคอนเดรียที่เมืองอินส์บรุค เป็นหนึ่งในผู้ที่ยังไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้นัก เขาไม่เห็นด้วยกับการวิเคราะห์ดีเอ็นเอไมโตคอนเดรีย ซึ่งเขากล่าวว่า มันสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างน่าเชื่อถือได้แค่ว่า บุคคลหรือตัวอย่างดีเอ็นเอ 2 ตัวอย่างไม่มีความเกี่ยวข้องกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดีเอ็นเอไมโตคอนเดรียจากผ้าคลุมไหล่อาจมาจากคอสมินสกี แต่ก็อาจมาจากผู้คนนับพันที่อาศัยอยู่ในลอนดอนในช่วงเวลานั้นได้เช่นกัน
ส่วนนักวิจารณ์คนอื่น ๆ ระบุว่า ไม่มีหลักฐานว่าผ้าคลุมไหล่เคยอยู่ที่เกิดเหตุ นอกจากนี้ ผ้าคลุมไหล่ยังอาจปนเปื้อนมาหลายปีแล้วด้วย แม้ว่ารัสเซล เอ็ดเวิร์ด นักเขียนที่สนใจเรื่องแจ็ก เดอะ ริปเปอร์ ระบุว่า ได้ใช้เวลาหลายปีในการตรวจสอบผ้าคลุมไหล่ ไม่ต้องห่วงว่าจะมีเรื่องการปนเปื้อน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น